โดเมนมาร์ค โซเฮล,แอร์มิตาจ

โดเมนมาร์ค โซเฮล,แอร์มิตาจ ยังไม่เป็นที่รู้จักมากนักแถมทำไวน์ออกมาน้อยมาก โดเมนมาร์ก โซเฮลทำแอร์มิตาจแบบคลาสสิค ทรงพลัง และมีเอกลักษณ์ของตนเอง มาร์คเริ่มต้นดูแลโดเมนในปี1982หลังจากคุณพ่อเสียชีวิตอย่างปุบปับ โดเมนโซเฮลไม่ได้ยื่นขอใบรับรองออร์แกนิค ทั้งๆที่เขาไม่ใช้สารเคมีหรือยาฆ่าแมลง ไม่ใช้สารกำจัดวัชพืชยกเว้นบริเวณที่ม้าเข้าไม่ถึง   ประวัติแอร์มิตาจ ชื่อแอร์มิตาจเชื่อกันว่ามีต้นกำเนิดจากบาทหลวงผู้อยู่อย่างสันโดษ(hermit)บนเนินเขาและปลูกไวน์บริเวณนั้นในยุคกลาง หนังสือบางเล่มบอกไม่ใช่บาทหลวงแต่เป็นอัศวินที่อยู่อย่างสันโดษชื่ออองรี กาซปาด์ เดอ สเตฮามแบร์กที่เป็นคนปลูกไวน์ อย่างไรก็ตามทุกแหล่งข้อมูลยืนยันตรงกันว่าชื่อไวน์แอร์มิตาจมาจากคำว่าผู้สันโดษ(hermit)ที่ใช้ชีวิตและปลูกไวน์บนเนินเขาบริเวณนั้น ชื่อเสียงของแอร์มิตาจเป็นที่รู้จักมากขึ้นเรื่อยๆ เหตุผลสำคัญอย่างหนึ่งคือพระเจ้าหลุยส์ที่13เลือกให้เป็นไวน์ประจำพระองค์ และภายในศตวรรษที่ 17แอร์มิตาจก็เป็นที่นิยมในหมู่ขุนนางและชนชั้นสูงทั่วทั้งยุโรป รวมถึงส่งออกไปอังกฤษด้วย บันทึกรายการซื้อขายในช่วงนั้นพบว่าแอร์มิตาจบางตัวซื้อขายกันในราคาที่สูงกว่าบอร์กโดซ์เฟิร์สโกรทเสียอีก ในช่วงศตวรรษที่18มีการใช้แอร์มิตาจผสมลงในไวน์บอร์กโดซ์เพื่อช่วยเพิ่มความเข้มและช่วยให้ไวน์เก็บได้นานขึ้น ก็ยิ่งทำให้แอร์มิตาจดังขึ้นไปอีก แต่มีขึ้นก็ต้องมีลง แอร์มิตาจถึงช่วงขาลงในช่วงต้นศตวรรษที่20 แต่อาศัยการผลักดันของกลุ่มโปรดิวเซอร์หัวแถว แอร์มิตาจใช้เวลาไม่นานก็กลับมาเป็นที่สนใจอีกครั้ง ปัจจุบันแอร์มิตาจเป็นหนึ่งในไวน์ที่มีชื่อเสียงที่สุดของโรนและฝรั่งเศสครับ พันธุ์องุ่นและแตร์ฮัวร์ แม้กฎหมายจะอนุญาตให้ผสมองุ่นขาว(มักซานน์และฮูสซานน์)ในแอร์มิตาจแดงได้ ในทางปฏิบัติแทบไม่มีใครใช้องุ่นขาวเลย ชีฮาห์คือพันธุ์องุ่นชนิดเดียวที่ใช้ในแอร์มิตาจแดง อ้อที่โก๊ต-โฮตีกฎหมายก็อนุญาตให้ใช้องุ่นขาวได้เช่นกัน แต่ของเขาเป็นวีเยอนิเยร์ครับ ผืนดินที่ดีที่สุดของแอร์มิตาจอยู่บนเนิน แปลงสำคัญที่เราควรรู้จักได้แก่ แลร์มิต,ลา ชาเปล(ของจาบูเลท์),เลส์ เบสซาร์,เลอ เมอัลและเลย์ เกรฟิเออซ์ ส่วนที่ไม่อยู่บนเนินถือว่าที่ตั้งและคุณภาพแตร์ฮัวร์อยู่ในขั้นรองลงมา ลมเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญ ชาวบ้านแถบนั้นเรียกลมนี้ว่าลา บิส(ไม่แน่ใจว่าเกี่ยวกับคำว่า บิส ที่แปลว่าจูบหรือเปล่า บิสเป็นการจูบแสดงความเป็นมิตรที่แก้มในตอนเจอกันหรือล่ำลา ใช้กับเพื่อนหรือญาติก็ได้)  แอร์มิตาจรับลมจากทางเหนือ ต้นไวน์ที่อยู่บนเนินรับลมมากกว่าจึงแห้งและไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องความชื้น…

โดเมนฮาสเปล-ไอย์,จิกองดา

โดเมนฮาสเปล-ไอย์,จิกองดา “โดเมนฮาสเปล-ไอย์คือหนึ่งในโปรดิวเซอร์ในดวงใจจากโรนใต้ เป็นไวน์ที่ผมสั่งมาดื่มบ่อยกว่าไวน์ตัวอื่นเวลาไปร้านอาหาร จิกองดาของเขากลิ่นหอมที่สุด,พลิ้วและสง่างาม จากการที่เราได้ชิมปีเก่าๆย้อนหลังไปถึงวินเทจ 1982 เห็นได้ชัดว่าไวน์ของโดเมนฮาสเปล-ไอย์มีพัฒนาการตามอายุได้อย่างดี ”-ไวน์แอดโวเคท ความเป็นมา โดเมนฮาสเปล-ไอย์เป็นหนึ่งในโปรดิวเซอร์อ้างอิงของไวน์จิกองดา นอกจากการมีชื่อเสียงแล้วตระกูลนี้ยังเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์การก่อตั้งเขตจิกองดาอีกด้วย สมาชิกในตระกูลที่เด่นๆคือยูยีนกับฟรองซัว ยูยีน ฮาสเปลเป็นหนึ่งในผู้ปรับปรุงคุณภาพไวน์อย่างก้าวกระโดด ต่อมาฟรองซัว ไอย์ซึ่งมีตำแหน่งเป็นประธานคณะกรรมการของชุมชน เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการผลักดันให้ไวน์จิกองดาได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการเป็นผลสำเร็จในปี 1971 นับแต่นั้นมาฉลากไวน์ของที่นี่ก็พิมพ์คำว่าจิกองดา อาโอเซได้อย่างภาคภูมิใจ ปัจจุบันพี่น้องแอน-โซฟีกับคริสตอฟเข้ามาช่วยดูแลอีกแรง     แตร์ฮัวร์ ที่น่าสนใจอีกอย่างคือไร่ไวน์เขาติดกันเป็นผืนเดียวทั้ง19เฮกตาร์ อยู่กลางเนินขั้นบันไดที่อุดมด้วยหินปูนสลับกับดินเหนียว ซึ่งถือว่าเป็นทำเลที่ดีที่สุดในจิกองดา ขั้นตอนการทำไวน์ทุกอย่างของโดเมนฮาสเปล-ไอย์เป็นแบบดั้งเดิมหมด ไม่วาจะเป็นสัดส่วนการผสมเกรอนาช,ชีฮาห์และมูร์กเวด การหมักในถังคอนกรีตแล้วบ่มต่อในถังโอ๊กเก่าขนาดใหญ่ ถ้าไม่นับโรเซ่ที่ทำออกมานิดเดียวเขามีไวน์หลักแค่ตัวเดียว คือจิกองดาแดง ไม่มีคูเว”เฮแซพ”( cuvee réserve ) ไม่มี”วิไยส์ วินส์”(cuvee vieilles vignes) หรือรุ่นพิเศษอื่นๆซึ่งนับว่าใจถึงมากเพราะรุ่นพิเศษพวกนี้สามารถขายในราคาสูงและทำเงินได้เป็นกอบเป็นกำ  แต่ไวน์ตัวเดียวนี่แหละที่ติดอันดับหนึ่งในจิกองดาที่ดีที่สุดอย่างคงเส้นคงวา ปีแล้วปีเล่า รสชาติ ในไร่เขาปลูกองุ่นสามพันธุ์ได้แก่ เกรอนาช 80% ชีฮาห์ 12% ที่เหลือเป็นมูร์กเวด ซึ่งสัดส่วนการเบลนในขวดก็เช่นกันอาจจะมีขยับบ้างนิดหน่อยในบางวินเทจ ไวน์ของโดเมนฮาสเปล-ไอย์เป็นจิกองดาแบบคลาสสิค คือนำด้วยความหอมของเครื่องเทศและสมุนไพร ตามด้วยความหวานของผลไม้แดง แม้ไวน์จะฉ่ำอร่อยแบบไวน์โรนแต่โดเมนฮาสเปล-ไอย์จะมีความพลิ้วและสมดุลเสมอ…

โดเมนแบร์กนาร์ กริปปา

โดเมนแบร์กนาร์ กริปปา โดเมนแบร์กนาร์ กริปปาอยู่ในซาง-โจเซพซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทางโรนเหนือ ไวน์จากเขตนี้จะมีความซับซ้อนกว่าโครส-แอร์มิทาจ แต่ไม่ถึงขนาดโก๊ต-โฮตีหรือแอร์มิทาจ โดเมนกริปปาทำไวน์ซาง-โจเซพแบบคลาสสิคที่คู่ควรกับการเก็บ ไวน์ของเขาส่วนใหญ่จะถูกจับจองโดยลูกค้าในประเทศ จึงมีเหลือให้ผู้นำเข้าไม่มากนัก แต่คุณภาพของไวน์คุ้มกับการเสาะหาครับ เหตุหลักคือไวน์ของเขานับเป็นหนึ่งในตัวจริงและเป็นตัวแทนชั้นเยี่ยมของเขตซาง-โจเซพ     เรื่องน่ารู้ของซาง-โจเซพ ตอนเริ่มต้นเขตนี้มีขนาด 97เฮกตาร์ ส่วนใหญ่เป็นไร่ไวน์ขั้นบันไดและอยู่บนเนิน ต่อมาขยายมาเป็นเกือบ 990เฮกตาร์ ซึ่งมีบริเวณที่ปลูกต้นองุ่นบนพื้นที่ราบรวมอยู่ด้วย ไวน์ซาง-โจเซพที่ดีที่สุดมักมาจากบริเวณดั้งเดิมก่อนขยาย เป็นไร่ไวน์ขั้นบันได ประกอบด้วยชุมชนวิอง,ลองส์,ซางฌอง เดอ มูโซล,ตูร์กนอง,มูฟส์และกลัง โดเมนกริปปาอยู่ในมูฟส์จากแถบนี้ครับ   ซาง-โจเซพเป็นเขตที่กว้าง มีไร่ไวน์อยู่ทั้งพื้นที่ราบและอยู่บนเนิน แถมยังเป็นวิ่งเป็นแนวยาวตั้งแต่ชาโตกริเลท์ลงมาถึงกอร์กนา ถ้าดูบนแผนที่จะเห็นชัดว่าเขตซาง-โจเซพกินบริเวณยาวที่สุด แน่นอนว่าพื้นที่ยิ่งมาก ความหลากหลายของคุณภาพก็มากตามไปด้วย มีทั้งไวน์ที่บางเบารสผลไม้ล้วนๆจนถึงไวน์มีโครงสร้าง มีพัฒนาการในขวด ข้อดีคือถ้าเรารู้ว่าใครคือโปรดิวเซอร์คุณภาพ เราจะได้ดื่มหนึ่งในไวน์ที่คุ้มค่าที่สุดของโรนครับ   ความคงเส้นคงวา โดเมนแบร์กนาร์ กริปปามีชื่อเสียงมายาวนาน เป็นหนึ่งในโปรดิวเซอร์ที่ตั้งมาตรฐานของไวน์ซาง-โจเซพ ไร่ไวน์ของเขาอยู่ในมูฟส์และตูร์กนอง โดเมนกริปปาทำไวน์ออกมาสามชนิดคือ ไวน์ขาวซาง-เปเฮย์,ไวน์ขาวซาง-โจเซฟและไวน์แดงซาง-โจเซฟ การทำไวน์ของที่นี่เป็นแบบดั้งเดิมคือ ไม่ตัดก้านออก หมักองุ่นทั้งพวงในถังไม้แบบเปิด ปล่อยให้ขบวนการหมักบ่มเป็นไปตามธรรมชาติ ปัจจุบันบริหารโดยฟาบริส ลูกชายของแบร์กนาร์ ผมชอบอย่างนึงที่เขาพูด”สิ่งที่ท้าทายคือการทำไวน์ไม่ใช่แค่มีความเข้มข้น แต่ให้มีความพลิ้วด้วย ไวน์เข้มหนักไม่ได้แปลว่าเป็นไวน์ชั้นเยี่ยม” ผมแนบสิ่งที่ไวน์แอดโวเคทบรรยายถึงไวน์วินเทจ…