โดเมนฟรองซัวส์ ฮาเวอโน

โดเมนฟรองซัวส์ ฮาเวอโน ผมเบื่อการขับรถไปชาบลี ไปกลับสี่ชั่วโมงกว่าเทียบกับหมู่บ้านอึ่นในทริปซึ่งไม่เกินสี่สิบห้านาทีหรือน้อยกว่านั้นก็ถึงแล้ว ขับเสร็จก็เหนื่อยไม่มีอารมณ์ทำอย่างอื่น เหตุผลเดียวที่ทำให้การเดินทางไกลคุ้มค่าคือสุดยอดโปรดิวเซอร์ที่นัดไว้โดเมนฟรองซัว ฮาเวอโน เราถึงชาบลีก่อนเวลา มีโอกาสเดินดูเมืองและทานอาหารเที่ยงก่อนที่ร้านเลอบิสโทเดส์กรองครู เราเลือกนั่งในสวนเหมาะกับอากาศเย็นนิดนิด             เริ่มด้วยสลัดที่ไม่ค่อยอร่อย แต่จานถัดมากู้สถานการณ์ไว้ได้ แซลมอนกรอบนอกนุ่มในราดด้วยซอสเนยหอมมัน มีความเค็มของริซอตโต้มาตัด อร่อยครับ เราสั่งชาบลีขวดเล็กของโดเมนโมโฮมาดื่มด้วย           ก่อนเจอตัวจริงมาดูประวัติเขากันนิดนึงครับ โดเมนฮาเวอโนก่อตั้งในปี1948 ท่ามกลางสถานการณ์ย่ำแย่ เศรษฐกิจบอบช้ำจากสงครามโลก,ปัญหาแมลงฟิลลอกชีราและการแข่งขันจากไวน์ราคาถูก ฟรองซัวส์ใช้โอกาสนี้สะสมผืนดินแตร์ฮัวร์ชั้นเยี่ยมไม่ว่าจะเป็นเลย์โคลส์กรองครู,บลองโชท์กรองครูเป็นต้น ปัจจุบันรุ่นลูกหลานคือแบร์กนาร์,ฌอง-มารีและอิสซาเบลรับช่วงต่อ โดยทั่วไปแล้วชั้นดินในชาบลีประกอบด้วยดินเหนียวและหินปูนผสมกัน บริเวณที่มีสัดส่วนดินเหนียวสูงมักจะให้ชาบลีที่ผลไม้เด่น นุ่ม และเข้มข้นกว่า ส่วนบริเวณที่มีสัดส่วนหินปูนสูงชาบลีก็ออกแร่ธาตุ คมและพริ้ว ทำเลที่ตั้งที่อยู่ทางตอนเหนือทำให้ชาบลีมีความเสี่ยงจากน้ำค้างแข็งตัวซึ่งสามารถทำลายผลองุ่นทั้งวินเทจได้ จะเห็นว่าน้ำค้างแข็งคือหายนะของโปรดิวเซอร์ การป้องกันสามารถทำได้หลายวิธี -ใช้ความเย็นสู้ความเย็น โดยใช้สเปรย์พ่นละอองน้ำเลี้ยงไว้ ซึ่งจะกลายเป็นน้ำแข็งและเคลือบต้นองุ่น ต้นไวน์จะเริ่มเสียหายเมื่ออุณหภูมิต่ำกว่า-5องศา วิธีนี้ถึงมีน้ำแข็งแต่อุณหภูมิยังสูงกว่าจุดอันตราย -ใช้ไฟสู้ความเย็น โดยการจุดไฟเป็นจุดๆกระจายทั่วบริเวณ ความร้อนจากเปลวไฟทำหน้าที่เหมือนฮีทเตอร์ ป้องกันความเสียหายจากน้ำค้างแข็งตัว -การเดินความร้อนผ่านสายไฟ สามารถทำได้โดยการติดตั้งสายไฟทั่วไร่และส่งความร้อนผ่านสายไฟนั้น แต่ละวิธีมีทั้งข้อดีข้อเสียด้านต่างๆไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่าย,ประสิทธิภาพ.ผลข้างเคียงต่อสิ่งแวดล้อมฯลฯ แต่ยังไงก็ดีกว่าปล่อยให้เสียหายโดยไม่ป้องกัน…