กิน

กิน “การชมสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ เป็นการฆ่าเวลาระหว่างรออาหารมื้อถัดไป” จำไม่ได้ว่าอ่านเจอที่ไหน ถูกใจมาก นอกจากไวน์แล้วผมชอบอาหาร โพสต์นี้เกี่ยวกับร้านที่เคยลองแล้วชอบครับ ^ ^   ฝรั่งเศส Côté Cour,Azay-le-Rideau อยุ่ติดประตูทางเข้าชาโตอาเซย์-เลอ-ฮิโด จอดรถที่ลานกลางหมู่บ้าน เดินไปไม่กี่ก้าวก็ถึงครับ Côté Cour 19 Rue Balzac, 37190 Azay-le-Rideau http://www.cotecour-azay.com/ La Trouvaille, Blois กึ่งร้านอาหารกึ่งไวน์บาร์ มีไวน์จากโปรดิวเซอร์รายเล็กแต่แจ๋วค่อนข้างเยอะ ถ้าชอบลองโปรดิวเซอร์ที่ไม่ดังมาก มาร้านนี้ได้เลย ร้านตั้งอยู่ฝั่งตรงข้ามกับตัวเมืองบลัวส์ อาจจะไม่สะดวกถ้าไม่มีรถ แต่วิวที่เรามองกลับไป แม่น้ำอยู่ตรงหน้า มีเมืองเก่าเป็นฉากหลังและมีสะพานสวยคั่นกลาง เป็นวิวที่ลืมไม่ลงครับ LA TROUVAILLE 5-7 RUE DE LA CHAÎNE 41000 BLOIS http://www.brasserielatrouvaille.com/ Le Pouce Pied,Cholet อยู่ไกลแหล่งท่องเที่ยวไปสักนิด หน้าร้านไม่เด่น อาจจะหายาก แต่อาหารดีครับ  …

โดเมนมาร์ค โซเฮล,แอร์มิตาจ

โดเมนมาร์ค โซเฮล,แอร์มิตาจ ยังไม่เป็นที่รู้จักมากนักแถมทำไวน์ออกมาน้อยมาก โดเมนมาร์ก โซเฮลทำแอร์มิตาจแบบคลาสสิค ทรงพลัง และมีเอกลักษณ์ของตนเอง มาร์คเริ่มต้นดูแลโดเมนในปี1982หลังจากคุณพ่อเสียชีวิตอย่างปุบปับ โดเมนโซเฮลไม่ได้ยื่นขอใบรับรองออร์แกนิค ทั้งๆที่เขาไม่ใช้สารเคมีหรือยาฆ่าแมลง ไม่ใช้สารกำจัดวัชพืชยกเว้นบริเวณที่ม้าเข้าไม่ถึง   ประวัติแอร์มิตาจ ชื่อแอร์มิตาจเชื่อกันว่ามีต้นกำเนิดจากบาทหลวงผู้อยู่อย่างสันโดษ(hermit)บนเนินเขาและปลูกไวน์บริเวณนั้นในยุคกลาง หนังสือบางเล่มบอกไม่ใช่บาทหลวงแต่เป็นอัศวินที่อยู่อย่างสันโดษชื่ออองรี กาซปาด์ เดอ สเตฮามแบร์กที่เป็นคนปลูกไวน์ อย่างไรก็ตามทุกแหล่งข้อมูลยืนยันตรงกันว่าชื่อไวน์แอร์มิตาจมาจากคำว่าผู้สันโดษ(hermit)ที่ใช้ชีวิตและปลูกไวน์บนเนินเขาบริเวณนั้น ชื่อเสียงของแอร์มิตาจเป็นที่รู้จักมากขึ้นเรื่อยๆ เหตุผลสำคัญอย่างหนึ่งคือพระเจ้าหลุยส์ที่13เลือกให้เป็นไวน์ประจำพระองค์ และภายในศตวรรษที่ 17แอร์มิตาจก็เป็นที่นิยมในหมู่ขุนนางและชนชั้นสูงทั่วทั้งยุโรป รวมถึงส่งออกไปอังกฤษด้วย บันทึกรายการซื้อขายในช่วงนั้นพบว่าแอร์มิตาจบางตัวซื้อขายกันในราคาที่สูงกว่าบอร์กโดซ์เฟิร์สโกรทเสียอีก ในช่วงศตวรรษที่18มีการใช้แอร์มิตาจผสมลงในไวน์บอร์กโดซ์เพื่อช่วยเพิ่มความเข้มและช่วยให้ไวน์เก็บได้นานขึ้น ก็ยิ่งทำให้แอร์มิตาจดังขึ้นไปอีก แต่มีขึ้นก็ต้องมีลง แอร์มิตาจถึงช่วงขาลงในช่วงต้นศตวรรษที่20 แต่อาศัยการผลักดันของกลุ่มโปรดิวเซอร์หัวแถว แอร์มิตาจใช้เวลาไม่นานก็กลับมาเป็นที่สนใจอีกครั้ง ปัจจุบันแอร์มิตาจเป็นหนึ่งในไวน์ที่มีชื่อเสียงที่สุดของโรนและฝรั่งเศสครับ พันธุ์องุ่นและแตร์ฮัวร์ แม้กฎหมายจะอนุญาตให้ผสมองุ่นขาว(มักซานน์และฮูสซานน์)ในแอร์มิตาจแดงได้ ในทางปฏิบัติแทบไม่มีใครใช้องุ่นขาวเลย ชีฮาห์คือพันธุ์องุ่นชนิดเดียวที่ใช้ในแอร์มิตาจแดง อ้อที่โก๊ต-โฮตีกฎหมายก็อนุญาตให้ใช้องุ่นขาวได้เช่นกัน แต่ของเขาเป็นวีเยอนิเยร์ครับ ผืนดินที่ดีที่สุดของแอร์มิตาจอยู่บนเนิน แปลงสำคัญที่เราควรรู้จักได้แก่ แลร์มิต,ลา ชาเปล(ของจาบูเลท์),เลส์ เบสซาร์,เลอ เมอัลและเลย์ เกรฟิเออซ์ ส่วนที่ไม่อยู่บนเนินถือว่าที่ตั้งและคุณภาพแตร์ฮัวร์อยู่ในขั้นรองลงมา ลมเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญ ชาวบ้านแถบนั้นเรียกลมนี้ว่าลา บิส(ไม่แน่ใจว่าเกี่ยวกับคำว่า บิส ที่แปลว่าจูบหรือเปล่า บิสเป็นการจูบแสดงความเป็นมิตรที่แก้มในตอนเจอกันหรือล่ำลา ใช้กับเพื่อนหรือญาติก็ได้)  แอร์มิตาจรับลมจากทางเหนือ ต้นไวน์ที่อยู่บนเนินรับลมมากกว่าจึงแห้งและไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องความชื้น…

โดเมนฮาสเปล-ไอย์,จิกองดา

โดเมนฮาสเปล-ไอย์,จิกองดา “โดเมนฮาสเปล-ไอย์คือหนึ่งในโปรดิวเซอร์ในดวงใจจากโรนใต้ เป็นไวน์ที่ผมสั่งมาดื่มบ่อยกว่าไวน์ตัวอื่นเวลาไปร้านอาหาร จิกองดาของเขากลิ่นหอมที่สุด,พลิ้วและสง่างาม จากการที่เราได้ชิมปีเก่าๆย้อนหลังไปถึงวินเทจ 1982 เห็นได้ชัดว่าไวน์ของโดเมนฮาสเปล-ไอย์มีพัฒนาการตามอายุได้อย่างดี ”-ไวน์แอดโวเคท ความเป็นมา โดเมนฮาสเปล-ไอย์เป็นหนึ่งในโปรดิวเซอร์อ้างอิงของไวน์จิกองดา นอกจากการมีชื่อเสียงแล้วตระกูลนี้ยังเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์การก่อตั้งเขตจิกองดาอีกด้วย สมาชิกในตระกูลที่เด่นๆคือยูยีนกับฟรองซัว ยูยีน ฮาสเปลเป็นหนึ่งในผู้ปรับปรุงคุณภาพไวน์อย่างก้าวกระโดด ต่อมาฟรองซัว ไอย์ซึ่งมีตำแหน่งเป็นประธานคณะกรรมการของชุมชน เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการผลักดันให้ไวน์จิกองดาได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการเป็นผลสำเร็จในปี 1971 นับแต่นั้นมาฉลากไวน์ของที่นี่ก็พิมพ์คำว่าจิกองดา อาโอเซได้อย่างภาคภูมิใจ ปัจจุบันพี่น้องแอน-โซฟีกับคริสตอฟเข้ามาช่วยดูแลอีกแรง     แตร์ฮัวร์ ที่น่าสนใจอีกอย่างคือไร่ไวน์เขาติดกันเป็นผืนเดียวทั้ง19เฮกตาร์ อยู่กลางเนินขั้นบันไดที่อุดมด้วยหินปูนสลับกับดินเหนียว ซึ่งถือว่าเป็นทำเลที่ดีที่สุดในจิกองดา ขั้นตอนการทำไวน์ทุกอย่างของโดเมนฮาสเปล-ไอย์เป็นแบบดั้งเดิมหมด ไม่วาจะเป็นสัดส่วนการผสมเกรอนาช,ชีฮาห์และมูร์กเวด การหมักในถังคอนกรีตแล้วบ่มต่อในถังโอ๊กเก่าขนาดใหญ่ ถ้าไม่นับโรเซ่ที่ทำออกมานิดเดียวเขามีไวน์หลักแค่ตัวเดียว คือจิกองดาแดง ไม่มีคูเว”เฮแซพ”( cuvee réserve ) ไม่มี”วิไยส์ วินส์”(cuvee vieilles vignes) หรือรุ่นพิเศษอื่นๆซึ่งนับว่าใจถึงมากเพราะรุ่นพิเศษพวกนี้สามารถขายในราคาสูงและทำเงินได้เป็นกอบเป็นกำ  แต่ไวน์ตัวเดียวนี่แหละที่ติดอันดับหนึ่งในจิกองดาที่ดีที่สุดอย่างคงเส้นคงวา ปีแล้วปีเล่า รสชาติ ในไร่เขาปลูกองุ่นสามพันธุ์ได้แก่ เกรอนาช 80% ชีฮาห์ 12% ที่เหลือเป็นมูร์กเวด ซึ่งสัดส่วนการเบลนในขวดก็เช่นกันอาจจะมีขยับบ้างนิดหน่อยในบางวินเทจ ไวน์ของโดเมนฮาสเปล-ไอย์เป็นจิกองดาแบบคลาสสิค คือนำด้วยความหอมของเครื่องเทศและสมุนไพร ตามด้วยความหวานของผลไม้แดง แม้ไวน์จะฉ่ำอร่อยแบบไวน์โรนแต่โดเมนฮาสเปล-ไอย์จะมีความพลิ้วและสมดุลเสมอ…

โดเมนแบร์กนาร์ กริปปา

โดเมนแบร์กนาร์ กริปปา โดเมนแบร์กนาร์ กริปปาอยู่ในซาง-โจเซพซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทางโรนเหนือ ไวน์จากเขตนี้จะมีความซับซ้อนกว่าโครส-แอร์มิทาจ แต่ไม่ถึงขนาดโก๊ต-โฮตีหรือแอร์มิทาจ โดเมนกริปปาทำไวน์ซาง-โจเซพแบบคลาสสิคที่คู่ควรกับการเก็บ ไวน์ของเขาส่วนใหญ่จะถูกจับจองโดยลูกค้าในประเทศ จึงมีเหลือให้ผู้นำเข้าไม่มากนัก แต่คุณภาพของไวน์คุ้มกับการเสาะหาครับ เหตุหลักคือไวน์ของเขานับเป็นหนึ่งในตัวจริงและเป็นตัวแทนชั้นเยี่ยมของเขตซาง-โจเซพ     เรื่องน่ารู้ของซาง-โจเซพ ตอนเริ่มต้นเขตนี้มีขนาด 97เฮกตาร์ ส่วนใหญ่เป็นไร่ไวน์ขั้นบันไดและอยู่บนเนิน ต่อมาขยายมาเป็นเกือบ 990เฮกตาร์ ซึ่งมีบริเวณที่ปลูกต้นองุ่นบนพื้นที่ราบรวมอยู่ด้วย ไวน์ซาง-โจเซพที่ดีที่สุดมักมาจากบริเวณดั้งเดิมก่อนขยาย เป็นไร่ไวน์ขั้นบันได ประกอบด้วยชุมชนวิอง,ลองส์,ซางฌอง เดอ มูโซล,ตูร์กนอง,มูฟส์และกลัง โดเมนกริปปาอยู่ในมูฟส์จากแถบนี้ครับ   ซาง-โจเซพเป็นเขตที่กว้าง มีไร่ไวน์อยู่ทั้งพื้นที่ราบและอยู่บนเนิน แถมยังเป็นวิ่งเป็นแนวยาวตั้งแต่ชาโตกริเลท์ลงมาถึงกอร์กนา ถ้าดูบนแผนที่จะเห็นชัดว่าเขตซาง-โจเซพกินบริเวณยาวที่สุด แน่นอนว่าพื้นที่ยิ่งมาก ความหลากหลายของคุณภาพก็มากตามไปด้วย มีทั้งไวน์ที่บางเบารสผลไม้ล้วนๆจนถึงไวน์มีโครงสร้าง มีพัฒนาการในขวด ข้อดีคือถ้าเรารู้ว่าใครคือโปรดิวเซอร์คุณภาพ เราจะได้ดื่มหนึ่งในไวน์ที่คุ้มค่าที่สุดของโรนครับ   ความคงเส้นคงวา โดเมนแบร์กนาร์ กริปปามีชื่อเสียงมายาวนาน เป็นหนึ่งในโปรดิวเซอร์ที่ตั้งมาตรฐานของไวน์ซาง-โจเซพ ไร่ไวน์ของเขาอยู่ในมูฟส์และตูร์กนอง โดเมนกริปปาทำไวน์ออกมาสามชนิดคือ ไวน์ขาวซาง-เปเฮย์,ไวน์ขาวซาง-โจเซฟและไวน์แดงซาง-โจเซฟ การทำไวน์ของที่นี่เป็นแบบดั้งเดิมคือ ไม่ตัดก้านออก หมักองุ่นทั้งพวงในถังไม้แบบเปิด ปล่อยให้ขบวนการหมักบ่มเป็นไปตามธรรมชาติ ปัจจุบันบริหารโดยฟาบริส ลูกชายของแบร์กนาร์ ผมชอบอย่างนึงที่เขาพูด”สิ่งที่ท้าทายคือการทำไวน์ไม่ใช่แค่มีความเข้มข้น แต่ให้มีความพลิ้วด้วย ไวน์เข้มหนักไม่ได้แปลว่าเป็นไวน์ชั้นเยี่ยม” ผมแนบสิ่งที่ไวน์แอดโวเคทบรรยายถึงไวน์วินเทจ…

โดเมนฮูเอท์

โดเมนฮูเอท์ โดเมนฮูเอท์เป็นหนึ่งในโปรดิวเซอร์จำนวนหยิบมือในทั่วทั้งฝรั่งเศสที่ได้รับการยอมรับว่าทำไวน์คลาสสิก เป็นโปรดิวเซอร์ที่ซอมเมอลิเยร์ต้องเรียนรู้,ร้านอาหารมิชลาต้องมีไว้ในลิสต์และคนรักไวน์ต้องหาโอกาสลอง ก่อนจะเข้ารายละเอียด มาดูภาพรวมของไวน์ลุมน้ำลัวร์กันครับ เราสามารถแบ่งพื้นที่การทำไวน์ในแถบลุ่มน้ำลัวร์เป็นสามส่วนหลัก จากซ้ายไปขวาดังนี้ -ลัวร์ตอนล่าง อยู่ทางซ้ายสุดติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก พื้นที่ปลูกไวน์ที่สำคัญคือ มุสกาเดท์ เดอ แซฟร์ เอ เมน ส่วนตัวคิดว่าไวน์จากมุสกาเดท์ค่อนข้างจืด ผมจึงไม่สนใจไวน์จากแถบนี้มากนัก -ลัวร์ตอนกลาง เป็นที่ตั้งเขตปลูกไวน์ที่น่าสนใจเยอะแยะไปหมด ที่เด่นๆคือ อองจู,โซเมอร์-ชงปิญญี,บูร์กเกย,ชินงและวูฟเฟรย์ โดเมนฮูเอท์อยู่ในวูฟเฟรย์ ของลัวร์ตอนกลางครับ -ลัวร์ตอนบน ไวน์ลัวร์ขวดแรกของหลายคนมาจากแถบลัวร์ตอนบน ใช่ครับเรากำลังพูดถึงซองแซร์ นอกจากซองแซร์แล้วยังมี ปุญญี-ฟูเม,ฮรุยลี,เมนตู-ซาลง,ซางปูร์กซาและอื่นๆอีกมาก ถ้ามีโอกาสอยากให้ลองไวน์แดงซางปูร์กซา ผมว่าหลายโปรดิวเซอร์ทำได้ไม่เลว   ความหลากหลายของวูฟเฟรย์ วูฟเฟรย์ทำไวน์ได้หลากหลายแบบ ตั้งแต่สปาร์กลิ้งไวน์,ไวน์ขาว,ไวน์ขาวอมหวาน(เดอมิ-เซก)ไปจนถึงไวน์หวาน ข้อดีอีกอย่างคือวูฟเฟรย์ของโดเมนฮูเอท์จะพัฒนารสชาติเมื่ออายุมากขึ้น วูฟเฟรย์เก็บได้นานอย่างไม่น่าเชื่อ วินเทจเก่าที่สุดที่เคยดื่มคือ 1961ซึ่งยังสดชื่นอยู่มากครับ ถ้าต้องเลือกว่าไวน์แบบไหนเป็นตัวแทนวูฟเฟรย์ได้ดีที่สุด ผมเลือกเดอมิ-เซก หลายคนอาจจะลังเลเพราะมันอมหวาน อยากจะบอกว่าวูฟเฟรย์โดยธรรมชาติมีความสดชื่นสูงอยู่แล้ว บวกกับมันไม่ได้หวานมาก แค่นิดหน่อยเท่านั้น โดยเฉพาะถ้ามาจากโปรดิวเซอร์มือฉมังอย่างโดเมนฮูเอท์ เมื่อดื่มคู่กับอาหารจะเข้ากันได้ดีครับ องุ่นที่ใช้ในวูฟเฟรย์มีพันธุ์เดียวเท่านั้น คือองุ่นเชอนัง บลอง นอกจากลัวร์แล้วอเมริกาและแอฟริกาใต้ก็มีการใช้เชอนัง บลองทำไวน์เช่นกัน ประวัติโดเมนฮูเอท์ วิคเตอร์ ฮูเอท์เริ่มทำโดเมนฮูเอท์ในปี 1928…

เอเตียน โซเสท์

ผมตื่นเต้นมากเมื่อรู้ว่าจะได้ไปเจอหนึ่งในโปรดิวเซอร์ในดวงใจ ผมหลงใหลความพลิ้ว ความสง่างามของโซเสท์มานาน ก่อนเดินทางก็ทำการบ้านและเตรียมตัวด้วยการรื้อหนังสือมาอ่าน,ทบทวนโน๊ตที่เคยเขียนไว้และ(อะแฮ่ม)ถือโอกาสเปิดโซเสท์ที่เก็บไว้มาดื่มทบทวนความจำ หลายคนอาจทราบว่าไวน์ขาวที่มีชื่อเสียงที่สุด,รสชาติซับซ้อนที่สุดคือไวน์ขาวของเบอร์กันดี หมู่บ้านที่ทำไวน์ขาวที่โด่งดังที่สุดในเบอร์กันดีคือปูลิญญี-มงฮราเชท์ และโปรดิวเซอร์ที่ผมชอบที่สุดในปูลิญญี-มงฮราเชท์คือเอเตียน โซเสท์ สิ่งที่ทำให้ปูลิญญี-มงฮราเชท์แตกต่างจากไวน์ขาวอื่นๆคือคุณภาพ,ความชัดเจนของกลิ่นช่อดอกไม้ ซึ่งกลิ่นนี้จะชัดกว่าไวน์จากเมอร์โซท์หรือชาสซาน อีกอย่างคือกระดูกสันหลังของปูลิญญีที่แน่น เต็มไปด้วยแร่ธาตุ และสามารถสัมผัสได้ทุกคำ ซึ่งไวน์จากโซเซท์เป็นตัวแทนของปูลิญญีที่สมบูรณ์แบบ แยกย่อยปูลิญญี-มงฮราเชท์ พื้นที่การเพาะปลูกแบ่งเป็นของ วิลลาจไวน์ 111 เฮกทาร์,เพรอมิเยร์ ครู 97 และกรองครู 21เฮกทาร์ กรองครูทั้งสี่ที่มาจากหมู่บ้านนี้ไม่ว่าจะเป็นเลอ มงฮราเชท์,บาตาร์ต-มงฮราเชท์(สองเขตแรกมีทั้งในปูลิญญีและชาสซาน),เบียงเวอนูส์-บาตาร์ต-มงฮราเชท์และเชอวาลิเยร์-มงฮราเชท์(สองเขตหลังมีในหมู่บ้านปูลิญญีเท่านั้น)ต่างเป็นที่ใฝ่ฝันของคนรักไวน์ที่จะได้ชิมซักครั้งในชีวิต ต้นองุ่นที่อายุมากที่สุดของโปรดิวเซอร์นี้คือเบียงเวอนูส์-บาตาร์ต-มงฮราเชท์ ซึ่งมีอายุราว 80 ปี ต้นองุ่นอายุมากดีกับรสชาติของไวน์อย่างไรเคยเขียนไว้ในบทความก่อนหน้านี้แล้ว ขอไม่เขียนซ้ำนะครับ เกร็ดเล็กๆที่น่าสนใจอย่างนึง เซลลาร์ในปูลิญญีมักจะอยู่บนดิน ไม่ได้อยู่ใต้ดินเหมือนหมู่บ้านอื่นๆในเบอร์กันดี สาเหตุคือปูลิญยีมีน้ำใต้ดินอยู่ไม่ลึกมาก จึงขุดสร้างเซลลาร์ไม่ได้ ถ้ามีโอกาสไปทัวร์เบอร์กันดีลองสังเกตตรงนี้ดูครับ                 ประวัติ ที่นี่ลูกเขยเป็นใหญ่ครับ สำคัญยังไงมาดูกัน เอเตียน โซเสท์เริ่มทำไร่ไวน์ขนาดเล็กแค่ 3 เฮกทาร์ แล้วขยับขยายมาเรื่อยรวมถึงการซื้อที่ในกรองครูบาตาร์ต-มงฮราเชท์กับเบียงเวอนูส์-บาตาร์ต-มงฮราเชท์ในปี 1950 โคเลทท์ลูกสาวคนเดียวของเอเตียนมีลูกสามคน…

กิจกรรม

โพสต์นี้รวบรวมกิจกรรมบางส่วนที่เราเคยจัดครับ An Evening with Jean-Charles le Bault de la Morinière of Domaine Bonneau du Martray at Siam Kempinski Burgundy Class Ontrade Burgundy Roundtable Ontrade Champagne Roundtable La Tour d’Argent at Le Normandie wine dinner Le Beaulieu restaurant private Burgundy dinner Celebrating Burgundy as UNESCO World Heritage Site with Eurocave Article in Chulalongkorn MBA Alumni Magazine Classical Rhone…

แชมเปญอองเดร คลูเอท์

แชมเปญอองเดร คลูเอท์ รู้จักกันที่บอร์กโดซ์ ระหว่างเดินเล่นในเมือง(อ่านว่าเดินหาร้านไวน์)เจอร้านไวน์ที่น่าสนใจหลายร้านเช่น L’Intendant,Max Bordeaux, La Vinothèque ซึ่งมีบอร์กโดซ์ให้เลือกทุกแบบ ร้านที่ชอบที่สุดกลับเป็นร้านบาดีเพราะนอกจากมีไวน์บอร์กโดซ์แล้วยังมีแชมเปญเยอะมาก มีคูเวที่หายากหลายตัว ซอมเมอลิเยของบาดีแนะนำแกมบังคับให้ลองแชมเปญอองเดร คลูเอท์ ตอนนั้นยังไม่เคยได้ยินคำว่าโกรเออร์แชมเปญ ไม่เคยได้ยินชื่อโปรดิวเซอร์นี้แถมฉลากก็ยังลิเกหน่อยๆ มาลองชิมหลังจากกลับมาเมืองไทย ประทับใจและชอบมาก เป็นจุดเริ่มต้นให้เริ่มเรียนรู้เกี่ยวกับโกรเออร์แชมเปญครับ       กรองครูในแชมเปญ Cru มาจากcroîtreในภาษาฝรั่งเศส แปลว่าเพาะปลูก ในที่นี้ใช้บ่งบอกคุณภาพของแหล่งปลูกไวน์ เช่นกรองครูและเพรอเมียร์ครู ในแคว้นแชมเปญมีการจัดแบ่งเกรดเป็นกรองครู,เพรอเมียร์ครูเช่นเดียวกับหลายๆแคว้นในฝรั่งเศส จากทั้งหมด 324 หมู่บ้านมีเพียง 17หมู่บ้านที่เป็นไร่กรองครู รายชื่อหมู่บ้านกรองครูทั้งหมดมีดังนี้ อองโบนเนย์,อาวีซ,ไอย์,บูมองท์-เซิร์ก-เวล,บูซี,ชุยยี,ครามองท์,ลูวัวส์,ไมยี,เลอเมส์นิล-เซิร์ก-โอเจร์,โอเจร์,อัวฮีย์,ปุยซิเออซ์,ซีลเลอรีย์,ตูกส์-เซิร์ก-มาน,แวร์กเซอเนย์และแวกซีย์ แชมเปญอองเดร คลูเอท์อยู่ในหมู่บ้านบูซีซึ่งเป็นหนึ่งในสิบเจ็ดกรองครูของแชมเปญ   โกรเออร์แชมเปญ สิ่งทีน่าสนใจคือแชมเปญเป็นแคว้นเดียวที่การทำไวน์ส่วนใหญ่ยังถูกควบคุมโดยเนโกชิอง ไม่ว่าจะเป็นบอร์กโดซ์,เบอร์กันดีหรือแคว้นอื่นโปรดิวเซอร์/โกรเออร์ต่างก็ทำไวน์ขายเองกันอย่างมีนัยสำคัญ แต่ไม่ใช่แชมเปญซึ่งเกือบ90%มาจากเนโกชิองภายใต้แบรนด์ต่างๆที่เราคุ้นหู โกรเออร์แชมเปญส่วนใหญ่จะเป็นโปรดิวเซอร์รายเล็ก ใช้องุ่นของตัวเองทำแชมเปญโดยไม่มีองุ่นจากข้างนอกมาปน ข้อดีคือเราได้ดื่มแชมเปญที่สะท้อนแหล่งปลูกและตัวตนของโปรดิวเซอร์แต่ละราย   โปรดอ่านฉลากก่อนดื่มทุกครั้ง จะรู้ได้อย่างไรว่าขวดไหนเป็นโกรเออร์แชมเปญ? มีวิธีดูดังนี้ครับ ที่ฉลากแชมเปญมักจะจะระบุว่าผู้ผลิตเป็นโกรเออร์แชมเปญหรือไม่ ถ้าไม่ได้ระบุบนฉลากเราสามารถสอบถามกับผู้นำเข้าหรือซอมเมอลิเย R-M ย่อมาจาก Récoltant-Manipulant แปลคร่าวๆว่า ปลูกและบรรจุขวดเอง…

โดเมนฌาคส์ กาฮิลยง

โดเมนฌาคส์ กาฮิลยง เสร็จจากชิมไวน์ที่เอเตียนโซเซ่เรามีเวลาทานอาหารเที่ยงก่อนไปเจอกับฌาคส์ ขับไปจอดกลางหมู่บ้านลงจากรถก็เจอโอลิวีเยร์ เลอเฟลฟยืนคุยกับแขกกลุ่มหนึ่งอยู่ เดินสำรวจรอบรอบสรุปได้ว่ามีสองตัวเลือก จะกินหรูที่โรงแรมเลอมองฮราเช หรือกินง่ายๆ เราเลือกกินง่ายๆที่เลอเปอลุนเยย์ อาหารพอได้แต่มีติเรื่องไวน์ น่าจะเลือกได้ดีกว่านี้ครับ อ้อติดกันเป็นคาเฟบวกร้านไวน์ไว้ฆ่าเวลาได้ครับ ประวัติ โดเมนหลุยส์ กาฮิลยงถือเป็นหนึ่งในสามทหารเสือของปูลิญญี-มองฮราเช(อีกสองคือโดเมนเลอเฟลฟกับโซเซ่) ในสามโปรดิวเซอร์นี้กาฮิลยงดังน้อยที่สุด ส่วนหนึ่งมาจากบุคลิกของครอบครัวนี้ที่ขรึม พูดน้อยและไม่ค่อยออกสื่อ อีกส่วนหนึ่งคือมีกรองครูแค่ตัวเดียวเท่านั้น ไม่เหมือนเลอเฟลฟกับโซเซ่ที่มีไวน์กรองครูมากมาย เสียเรื่อง”ว๊าวแฟคเตอร์”ไป อย่างไรก็ตามโดเมนกาฮิลยงก็มีจุดแข็งที่ทำให้เขาดังเงียบดังนานและมีแฟนเบอร์กันดีติดตามทั่วโลกนั่นคือคุณภาพที่คงเส้นคงวาในทุกๆวินเทจ โดเมนหลุยส์ กาฮิลยงต้องปิดตัวลงในปี2010 เมื่อลูกชายสองคนของหลุยส์ตัดสินใจแยกตัวออกมาทำเอง กลายเป็นมีสองกาฮิลยงให้เลือกคือฟรองซัวส์กับฌาคส์ เลือกใครดี? คำถามที่ผมถามตัวเองและถูกถามบ่อยคือเลือกใครดี ฟรองซัวส์หรือฌาคส์ คำตอบแบบสั้นๆคือไวน์ดีทั้งคู่แต่คนละสไตล์ ปูลิญญี-มองฮราเชของฟรองซัวน์จะเปิดเผยกว่า ผลไม้เด่น ปูลิญญี-มองฮราเชของฌาคส์จะออกคลาสสิก โปร่งกว่า เป็นปูลิญญี-มองฮราเชแบบเดียวกับพ่อเขา ก่อนที่จะแยกตัวออกมาฌาคส์เป็นมือสองรองจากคุณพ่อดูแลโดเมนหลุยส์ กาฮิลยงอยู่ถึงสามสิบกว่าปี เนื่องจากผมชอบไวน์ของหลุยส์และต้องการความต่อเนื่อง ผมเลือกฌาคส์ครับ บอกนิดนึงออฟฟิศของสองพี่น้องอยู่ติดกัน สามารถชิมของทั้งคู่เพื่อเปรียบเทียบได้เลยครับ นีล มาร์ตินที่เบิร์กฮาวด์ต้องระวัง การเปลี่ยนแปลงในไวน์แอดโวเคต วารสารวิจารณ์ไวน์อันดับหนึ่งของโลกที่ให้นีล มาร์ตินดูแลเบอร์กันดี(นอกเหนือจากบอร์กโดซ์ที่ดูแลอยู่ก่อนแล้ว) ทำให้ปิดจุดอ่อนที่เคยมีด้านนี้ไป เท่าที่ลองติดตามดูนีลรายงานได้ดี ข้อมูลเชิงลึกแน่น เบิร์กฮาวด์ซึ่งหลายคนใช้เป็นแหล่งข้อมูลอ้างอิงสำคัญของไวน์เบอร์กันดีจะโดนกระทบหรือไม่ น่าติดตามครับ นีลเขียนถึงโดเมนฌาคส์ กาฮิลยงดังนี้ “ ไวน์ของฌาคส์…